ทางสายกลาง และพอเพียงตามรอยพ่อ



ทางสายกลาง และ พอเพียงตามรอยพ่อ

    
          คำว่า "ทางสายกลาง" ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย และวาจาของเรา แต่หมายถึงในด้านจิตใจ เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง เมื่ออารมณ์ที่ดีใจเกิดขึ้นมาแล้วก็ดีอกดีใจ ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง
          มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุขความจริงสุขนั้น ก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆสุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงูมันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
          ความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกันคือตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภยศสรรเสริญได้มาแล้ว ก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่า มันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่เราก็ไม่รู้จักเหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้
          ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี อันนี้ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ดังนั้นความสุข ความทุกข์ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทางฃ

          คำว่า พอเพียง หมายถึง ความมีพอสำหรับดำรงชีวิต เช่น เขาใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีการส่งเสริมระบบการผลิตแบบพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้
ดังเช่นที่คนไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 โดยรัฐบาลได้น้อมนำเอาปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง
          ความพอเพียงนี้หมายถึงความพอประมาณ มีเหตุมีผล การเดิน สายกลาง รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการรับผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบคอบ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันก็จะ ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติคือ คุณธรรมคำว่า พอเพียงจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า พอเพียงไว้ว่า “…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”
          เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ
          สรุป ความพอเพียงก็คือ ความพอดีในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความเป็นอิสระ นั้นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.